ปิดกิจการ ของ NK THX

ในปัจจุบันนี้ โรงภาพยนตร์ในประเทศไทยแต่ละแห่งล้วนไม่ได้ใช้ระบบ THX อีกแล้ว เนื่องจากต้องเสียค่าลิขสิทธิ์เป็นรายปี ซึ่งมีเพียงโรงภาพยนตร์ในเครือ NK THX เพียงเครือเดียว ที่ยังคงเป็นระบบ THX อยู่ [2] [3]

หลังจากที่ NK6 THX ปิดตัวไปในปี พ.ศ. 2547 ในปี พ.ศ. 2549 NK6 THX ก็ได้มีกลับมาอีกครั้งในย่านถนนรัตนาธิเบศร์ แต่ร่วมทุนจดทะเบียนกับ เอสเอฟ ซีเนมา ซิตี้ เป็นโรงภาพยนตร์ร่วมใช้ชื่อว่า "SF Cinema City NK" ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซ่า รัตนาธิเบศร์ มีทั้งหมด 7 โรง ซึ่งเดิมทีนั้น NK THX ได้เซ็นสัญญาเช่าพื้นที่ที่ห้างสรรพสินค้าแห่งนี้เอาไว้ก่อนนานแล้ว และได้วางแผนจะเปิดสาขาใหม่ของตนที่นี้ แต่ตอนหลัง SF Cinema ได้ติดต่อขอร่วมหุ้นด้วยโดยชุดลำโพงและจอภาพยนตร์บางส่วนจากที่นิวเวิลด์ รัตนาธิเบศร์ ได้ถูกนำมาติดตั้งที่นี้ ทำให้ที่นี่ กลายเป็นโรงภาพยนตร์ที่มีคุณภาพอีกแห่งหนึ่ง ภายใต้การบริหารโดยเครือเอสเอฟซีนีม่า และนอกจากนั้น ยังได้ยกเก้าอี้ชมภาพยนตร์และระบบต่าง ๆ ไปติดตั้งยังโรงภาพยนตร์นครนนท์รามา ซึ่งอยู่ในเครือนครหลวง ต้นสังกัดของ NK เช่นกันแทน

ต่อมาในกลางปี พ.ศ. 2550 NK THX เดอะมอลล์ ท่าพระ ก็ได้ปิดตัวไปอีกแห่ง และได้ทำการปรับปรุงและต่อเติมกลายเป็นโรงภาพยนตร์ SF Cinema City The Mall Thaphra 8 โรงภาพยนตร์ แทน[4]

ต่อมากิจการของ NK THX เหลือเพียงสาขาเดียวคือที่ นวนคร แต่ก็มีสภาพกิจการที่ซบเซามาก ต้องลดจำนวนโรงภาพยนตร์จากเดิมลงจาก 5 โรงเป็น 3 โรงและประมาณเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 ก็ได้ผันตัวเองจากโรงภาพยนตร์มัลติเพล็กซ์ ไปดำเนินกิจการรูปแบบโรงภาพยนตร์ชั้น 2 โดยเปิดโรง 1 และ 3 ฉายวนทั้งวัน 3 เรื่อง ในราคา 50 บาทและปลายปี พ.ศ. 2551 เมื่อเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ได้เปิดสาขาของตนเองในห้างบิ๊กซี และโลตัส รวมทั้งสิ้น 7 โรง ซึ่งอยู่บริเวณปากทางเข้า นวนคร ทำให้โรงภาพยนตร์ NK นวนคร ได้ปิดกิจการและรื้อถอนจนถูกทุบทิ้งไปในที่สุด

ใกล้เคียง